ความแตกต่างกินแบบ MD และ FMD สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดัน อ้วน

                                        

  รูปที่ 1 : Mediterranean Diet: MD


โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนจำนวนมากทั่วโลกโรคหนึ่ง และนอกเหนือจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การดูแลเรื่องอาหารการกินก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพ เพราะอาหารที่รับประทานมีส่วนช่วยปกป้องเซลล์บุผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีหน้าที่สําคัญในการควบคุมการทํางานของหลอดเลือด อาหารที่แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานแน่นอนว่าคือ อาหารไขมันต่ำ


เราจะมาดูความแตกต่างของรูปแบบการรับประทานอาหาร 2 ตัว ที่ขึ้นชื่อว่าดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคอ้วน ที่มีความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นปัจจัยเคียงคู่กันมา คือ อาหารเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Diet: MD) และ Fasting-Mimicking Diet (FMD) ที่งานวิจัยชี้ว่า มีส่วนช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน และเบาหวาน


ลักษณะทั่วไปของรูปแบบอาหาร MD คือ เน้นการกินผักผลไม้หลากสี ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ ปลาที่มีโอเมก้าสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ข้าวแป้งขัดสี เนื้อสัตว์แปรรูป หรือน้ำมันที่ผ่านกระบวนการสกัดทางเคมี

 รูปที่ 2 :  Fasting-Mimicking Diet (FMD)


ส่วน FMD เป็นโปรแกรมอาหารที่เลียนแบบการอดอาหาร หรือการรับประทานอาหารบางอย่างที่เหมือนกับได้อดอาหาร แต่ไม่ได้เป็นการอดอาหารจริง ๆ เป็นรูปแบบอาหารที่มีแคลอรีต่ำ โปรตีนต่ำ คาร์โบไฮเดรตปานกลาง และไขมันปานกลางจากพืช รับประทานเดือนละ 5 วัน


การทดลองเปรียบเทียบ FMD และ MD นี้ เพื่อดูประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจในกลุ่มผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วน และมีภาวะความดันโลหิตสูงด้วย


ในการทดลองแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ (Randomized Controlled Trial: RCT) นี้ กลุ่มตัวอย่างคละกันชาย-หญิง อายุ 35-75 ปี จำนวน 44 คน รับประทานแบบ FMD และ 40 คน รับประทานแบบ MD เป็นเวลานาน 4 เดือน แล้วตรวจการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด (endothelial function) ในเบื้องต้น โดยดูจากดัชนีชี้วัด reactive hyperemia index (RHI) และการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดแดงใหญ่และเล็ก จากนั้นดูความเปลี่ยนแปลงปัจจัยด้านหัวใจและหลอดเลือด (cardiometabolic factors)


กลุ่มตัวอย่างที่ต้องไปพบแพทย์ 5 ครั้ง คือ 1) ตอนเริ่มการทดลอง 2) 5-8 วัน หลังจาก FMD รอบแรกเสร็จสิ้น 3) 35-38 วัน หลังจาก MD รอบแรกเสร็จสิ้น 4) 5-8 วัน หลังจาก FMD รอบ 3 เสร็จสิ้น หรือ 95-98 วัน หลังจากรับประทานแบบ MD และ 5) 3 เดือน หลังจากการรับประทานทั้ง 2 รูปแบบเสร็จสิ้นลง


นอกจากนี้ มีการตรวจเลือดหลังจากการอดอาหารนาน 12 ชั่วโมง เพื่อวัดระดับของ tumor necrosis factor-alpha (TNF alpha ทำหน้าที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมชนิดต่าง ๆ), ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน (insulin-like growth factor-I : IGF-I), interleukin-6 (IL-6 ทำหน้าที่ในการประสานการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว) และ leptin (ฮอร์โมนที่ช่วยในการควบคุมความหิว)


ข้อมูลเหล่านี้ใช้ในการคำนวณภาวะดื้ออินซูลิน (HOMA-IR) และประเมินความชุกของภาวะที่เกิดจากระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน ทั้งนี้ ความชุกคือตัวบ่งชี้ว่าโรคนี้เกิดบ่อยมากเพียงใดในช่วงเวลาหนึ่ง)


ผลการทดลองชี้ว่า FMD ทำให้ระดับดัชนี RHI ลดลง ซึ่งอาจเนื่องมาจากความไม่สมบูรณ์ในการทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือด ทั้งนี้ ความสมบูรณ์ของการทํางานของเซลล์บุผนังหลอดเลือดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสุขภาพหลอดเลือด และยังอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการลุกลามของโรคหัวใจและหลอดเลือด


นอกจากนี้ ยังพบว่า การรับประทานแบบ FMD ทำให้ภาวะดื้ออินซูลินลดลง ไขมันในช่องท้องลดลง (trunk fat mass) แต่มวลของร่างกายในส่วนที่ไม่มีไขมันไม่มีความเปลี่ยนแปลง (lean muscle mass)


ส่วนกลุ่ม MD นั้น พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานลดลงมากกว่าในกลุ่ม FMD และ lean muscle mass ลดลงอย่างน้อย 1 กิโลกรัม บอกให้รู้ว่าการรับประทานอาหารสูตร MD ไม่เหมาะกับผู้สูงวัยเพราะอาจทำให้ร่างกายเปราะบาง เนื่องจากการรับประทานแบบ MD มีแนวโน้มว่าทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนลดลง และหมายถึงกรดอะมิโนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอด้วย ขณะที่ FMD ไม่มีผลใด ๆ ต่อการบริโภคโปรตีนของกลุ่มทดลอง


สรุปว่า แม้การรับประทานทั้งแบบ FMD และ MD ให้ผลดีต่อการควบคุมน้ำหนักและลดความเสี่ยงเป็นโรคโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนที่เป็นโรคอ้วนร่วมด้วยความดันโลหิตสูง แต่ทั้ง 2 วิธี มีความต่างด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยจึงควรพิจารณาปัจจัยปลีกย่อยส่วนตัวของตัวเอง


ข้อมูล:


https://rb.gy/lHYPERLINK "https://rb.gy/l1rm9l"1HYPERLINK "https://rb.gy/l1rm9l"rmHYPERLINK "https://rb.gy/l1rm9l"9HYPERLINK "https://rb.gy/l1rm9l"l


https://www.nature.com/articles/sHYPERLINK "https://www.nature.com/articles/s44324-023-00002-1"44324HYPERLINK "https://www.nature.com/articles/s44324-023-00002-1"-HYPERLINK "https://www.nature.com/articles/s44324-023-00002-1"023HYPERLINK "https://www.nature.com/articles/s44324-023-00002-1"-HYPERLINK "https://www.nature.com/articles/s44324-023-00002-1"00002HYPERLINK "https://www.nature.com/articles/s44324-023-00002-1"-HYPERLINK "https://www.nature.com/articles/s44324-023-00002-1"1