แพทย์จะประเมินความจำเป็นการส่งตรวจต่างๆ เฉพาะบุคคล เช่นเจาะเลือด
ตรวจปัสสาวะ คลื่นหัวใจ เอกซเรย์ปอด ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ECHO) อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง ตรวจการนอน ตรวจคัดกรองมะเร็ง เป็นต้น เพื่อหาโรคร่วม ความผิดปกติของวิตามิน แร่ธาตุเดิม และสภาพความพร้อมของอวัยวะต่างๆ ต่อการผ่าตัด
การลดน้ำหนักก่อนผ่าตัด
ควรลดน้ำหนักได้เองก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 5-1 % ของน้ำหนักส่วนเกิน เพื่อลดขนาดตับ และเตรียมนิสัยการใช้ชีวิตใหม่หลังผ่าตัดน้ำหนักลด
การรับประทานอาหาร
แนะนำกินอาหาร 1 -2 kcal ต่อวัน เลือกกินแคลลอรี่ที่มีคุณภาพ เน้นโปรตีนไขมันน้อย ผัก ลดแป้ง อาหารมัน และผลไม้ งดเครื่องดื่มที่่มีแคลลอรี่ เลิกนิสัยการกินที่ผิด เช่นกินโดยไม่หิว ติดของหวาน กินเร็ว กินของเหลวพร้อมอาหาร การควบคุมอาหารนี้จะเป็นการสร้างนิสัยการกินใหม่ไปจนถึงหลังผ่าตัดที่จะทำให้สามารถควบคุมน้ำหนักลดได้หลังผ่าตัดในระยะยาว
การออกกำลังกาย
เริ่มออกกำลังกายตั้งแต่เนิ่นๆ การออกกำลังจะยิ่งง่ายขึ้นหลังผ่าตัดช่วยให้การไหลเวียนโลหิตและหัวใจเต้นดีขณะผ่าตัด การหายใจได้ประสิทธิภาพขึ้นช่วงพักฟื้น คารเริ่มขยับตัวให้มากขึ้นตั้งแต่ตอนนี้ แต่อย่าให้บาดเจ็บ เตรียมแผนการออกกำลังกายเอาไว้ล่วงหน้า ตั ้งเป้าหมายเป็นระยะๆ ออกกำลังกายเป็นระดับปานกลาง (zone 2)-(zone 3) (เหนื่อยแบบพูดได้เป็นประโยค แต่ร้องเพลงไม่ได้ หรือแบบ fat burn / cardio ) ให้ได้สม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 นาที ต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ ควรมีมาตรวัดชีพจรหรือก้าวเดิน หากอาการปวดข้อเป็นอุปสรรคต่อการเดิน ควรใช้การออกกำลังกายในน้ำ จะช่วยลดการลงน้ำหนักที่ข้อและดีต่อการหายใจ
โรคประจำตัว
ควบคุมโรคประจำตัวต่างๆ เช่น คุมระดับ HbA1C , FBS ในผู้ป่วยเบาหวาน ใช้เครื่องช่วยหายใจขณะนอนหลับในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอุดกลั้นระดับปานกลางหรือรุนแรง
ยาโรคประจำตัว
*งดยาละลายลิ่มเลือดและยากันเลือดแข็งเช่น Aspirin, Clopidrogrel, Warfarin อย่างน้อย 7 วันก่อนผ่าตัด
* แจ้งแพทย์ถึงยาสมุนไพร อาหารเสริมที่กินทุกชนิด
บุหรี่
การสุบบุหรี่ทำให้การสะสมเชื้อที่ปอด เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจและหัวใจ ติดเชื้อ เพิ่มโอกาสที่ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา ที่หัวใจ ระบบการไหลเวียนโลหิตแย่ลง แผลหายช้า รอยต่อกระเพาะลำไส้รั่ว รอยต่อมีแผล (Marinal Ulcer) เลือดออกรุนแรงได้ ผู้ที่สูบบุหรี่ต้องเลิกบุหรี่ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 สัปดาห์ รวมถึงหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่จากผู้อื่น (Second hand smoker)
เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
แอลกอฮอลล์ส่งผลต่อการทำงานของตับ ไขมันเกาะตับ ตับอักเสบ ระหว่างช่วงหลังผ่าตัดใหม่ๆ แอลกอฮอลล์เพียงปริมาณเล็กน้อยอาจออกฤทธิ์รุนแรงมาก และอาจเกิดอาการดังต่อไปนี้
* เพิ่มการเกิดภาวะใจสั่น
* น้ำตาลต่ำ ภาวะขาดน้ำ
* ปวดท้อง (dumping syndrome) ได้
แนะนำว่าไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 ปี หลังผ่าตัดจากนั้นหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด
การทำงาน
คนส่วนมากสามารถกลับมาทำงานหลังผ่าตัดได้ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ควรงดยกของหนักอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ที่สำคัญคือเข้าใจว่าคุณมิใช่กำลังฟื่นตัวจากการผ่าตัดใหญ่ในช่องท้องเท่านั้น แต่กำลังอยู่ในช่วงที่กินอาหารได้น้อยลงมาก น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
แนะนำอย่าเพิ่งรีบกลับไปทำงานและใช้เวลาอันมีค่าช่วงแรกหลังผ่าตัดนี้เพื่อค่อยๆปรับตัวกับทางเดินอาหารใหม่ ค่อยๆ เริ่มออกกำลังกาย พักผ่อนให้มาก
ก่อนผ่าตัด 2 สัปดาห์
กินเฉพาะอาการเหลว และจำกัดพลังงาน 8 -1 kcal/วัน (low calories diet) ออกกำลังกายได้ตามปกติ ดื่มน้ำเปล่าได้อย่างน้อย 1.5 ลิตรต่อวัน
* ผู้ป่วยที่มี BMI > 5 kg/m² อาจต้องมานอนเพื่อลดน้ำหนักใน รพ. ก่อนผ่าตัด โดยจำกัดอาหาร 6 -8 kcal/วัน (very low calories diet) ร่วมกับตรวจประเมิมสภาวะร่างกายอย่างใกล้ชิด (Preoperative in-hospital weight loss)
วันผ่าตัดและขั้นตอนการเตรียมตัว
* เช้าวันผ่าตัด ควรอาบน้ำทำความสะอาดผิวกายโดยเฉพาะหน้าท้อง หลีกเลี่ยงมอย์เจอร์ไรเซอร์ , ครีม ,โลชั่น เมคอัพ
* ควรล้างสีเล็บออกถ้ามี และไม่ทาน้ำยาเคลือบเล็บ ถอดเครื่องประดับ ถอดฟันปลอม คอนเทคเลนส์ แว่นตา
* น้ำยาประจำตัว เครื่องช่วยหายใจขณะหลับที่ใช้อยู่ (ถ้ามี)
* งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
* ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และพยาบาล ประเมินความพร้อมการผ่าตัดอีกครั้ง ให้น้ำเกลือ และยาที่จำเป็น
หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ – 6 เดือนแรก
จะเป็นช่วงที่น้ำหนักลกดลงมากที่สุด แพทย์จะนัดติดตามอาการเป็นระยะๆ สามารถรับประทานอาหารอ่อน และแข็งได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยคุมอาหารและนิสัยการกินแบบที่ฝึกช่วงก่อนผ่าตัด โดยระวังเรื่องอาหารการกิน อิ่มก็หยุด ดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อย 1.5 ลิตรต่อวันหลีกเลี่ยงผลไม้ ของหวาน เครื่องดื่มที่มีแคลลอรี่
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3
https://phyathai3hospital.com/th/bariatric-surgery/