ฮีทสโตรก

www.medi.co.th

“ฮีทสโตรก” อาการเป็นอย่างไร ? วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ใครบ้างเสี่ยง
ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนหรือหน้าร้อน ประเทศไทยมีพระอาทิตย์กี่ดวงกันแน่ ? หลายจังหวัดในประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ที่สุ่มเสี่ยงต่อ ฮีทสโตรก (Heatstroke) จากอากาศร้อนจัด ซึ่งในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตและคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนเพิ่มในแต่ละปี ซึ่งอาจจะเป็นเราที่ป่วยหรือเจอคนอยู่ตรงหน้า วิธีปฐมพยาบาลจึงสำคัญ
ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อก โดยผู้ป่วยที่เป็น heatstroke มักมาด้วยอาการ 3 อย่าง คือ มีไข้สูง (อุณหภูมิแกนสูงกว่า 40.5oC), ระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ และไร้เหงื่อ
สัญญาณเตือนโรคฮีทสโตรก
1.ตัวร้อนมาก อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
2.ผิวหนังแห้งและร้อน ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีเหงื่อออก
3.ความดันโลหิตลดลง หัวใจเต้นเร็วมาก ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว
4.กระหายน้ำมาก
5.วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด
6.คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
7.อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป


ใครที่มีความเสี่ยงโรคลมแดด
1.เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
2.ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน
3.ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
4.ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
5.ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย นักกีฬากอล์ฟ เกษตรกร ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง
6.ผู้ที่ทำงานออฟฟิศ ที่ทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานานแล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน
7.ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม และในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้