โรคผิวหนังที่ต้องระวัง! ในช่วงหน้าฝน

ฝนตกบ่อย ๆ ทำให้เกิดความอับชื้น ซึ่งกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อรา และแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคผิวหนังได้ ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนแล้ว มีโรคผิวหนังอะไรบ้างที่ต้องระวัง!

    โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อรา
    - กลาก มีลักษณะเป็นผื่นวงมีขอบเขตชัดเจน มีขุย เริ่มต้นด้วยอาการคัน ตามด้วยผื่นแดงต่อมาจะลามเป็นวงออกไปเรื่อย ๆ และมักจะคันมากขึ้น ส่วนใหญ่พบในบริเวณที่มีความอับชื้น เช่น หนังศีรษะ รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า
    - เกลื้อน ลักษณะเป็นผื่นวงกลมหลายวง มีขุยละเอียด สีแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณลำตัว เช่น หลัง หน้าอก ท้อง ไหล่ คอ
    โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลง เช่น ยุง หมัด ไร ด้วงก้นกระดก หากสัมผัสเข้าอาจเกิดเป็นผื่นผิวหนังอักเสบได้ หากมีอาการแพ้รุนแรงควรพบแพทย์ อันตราย! จากแมลงก้นกระดก “แพ้ง่าย” ควรรีบพบแพทย์
    โรคเท้าเหม็น เกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดบริเวณผิวหนังชั้นนอก มีอาการเท้าแห้งลอก เท้าจะมีกลิ่นรุนแรงมากกว่าปกติ มีหลุม รูพรุนเล็ก ๆ บริเวณฝ่าเท้าและง่ามเท้า
    โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีผื่นแดง แห้งลอก คัน โดยมีอาการคันมากที่บริเวณตามข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า แขน ขา ซอกคอ เนื่องมาจากอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
    โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก (Atopic Dermatitis)
    โรคน้ำกัดเท้า มีอาการระคายระคายเคืองผิวหนังจากความอับชื้น ทำให้เกิดผื่นตามเท้า ซอกนิ้วเท้า อาจมีการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

     โรคผื่นกุหลาบ ส่วนใหญ่มักพบบ่อยในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำ รู้จักผื่นกลีบกุหลาบ – โรคผิวหนังติดเชื้อจากไวรัส

    ดูแลตัวเอง ป้องกันโรคผิวหนัง ช่วงหน้าฝน
    - อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน
    - ใส่เสื้อผ้าสะอาด ที่แห้งสนิท
    - ล้างมือ ล้างเท้า หลังลุยน้ำท่วม
    - หากตากฝน ควรสระผมและเป่าให้แห้งก่อนนอน
    - กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
    - กรณีที่ลุยน้ำและมีแผล ควรความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

อ้างอิงจาก : สภากาชาดไทย
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล :  https://www.sikarin.com/health