โรคนอนไม่หลับ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โรคนอนไม่หลับ คือ อาการนอนไม่หลับ หลับลำบาก หรือหลับไม่สนิท
    โรคนอนไม่หลับมีกี่ชนิด
    โรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้ในประชากรทุกช่วงอายุ คนส่วนมากจะมีอาการนอนไม่หลับ 1-2 คืน แต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปี โรคนอนไม่หลับมักพบในผู้หญิงและผู้สูงอายุ
    1.  โรคนอนไม่หลับจากปัญหาการปรับตัว (Adjustment Insomnia)
         ปัญหาหลับได้ยากหรือหลับไม่สนิท เป็นเวลาไม่กี่คืน และน้อยกว่า 3 เดือน มักเกิดจากความ ตื่นเต้นหรือความเครียด ยกตัวอย่างในเด็กอาจนอนพลิกตัวในคืนก่อนที่โรงเรียนเปิดเทอม หรือในคืน ก่อนการสอบสำคัญ หรือก่อนการแข่งขันกีฬา ในผู้ใหญ่มักเกิดขึ้นได้ก่อนการพบปะทางธุรกิจนัดสำคัญ หรือการทะเลาะกันของสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท คนส่วนมากมักมีปัญหานอนไม่หลับ เมื่อต้องห่างจากบ้าน การเดินทางไปในสถานที่เวลาต่างจากเดิม การออกกำลังกายก่อนเวลาเข้านอน (ภายใน 4 ชั่วโมง) หรือเวลาเจ็บป่วยก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคนอนไม่หลับชนิดนี้ เมื่อสถานการณ์ ความตึงเครียดผ่อนคลาย การนอนหลับก็จะกลับมาเป็นปกติ
    2. โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic insomnia)
        หมายถึง การนอนไม่หลับนานมากกว่า 1 เดือน คนที่นอนไม่หลับส่วนมากมักจะกังวลกับ การนอนหลับของตนเอง หรืออาจเพราะการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติในระหว่างนอนหลับ

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับอาจเป็นอาการของปัญหาอื่น เช่น การมีไข้ หรือ ปวดท้อง หรืออาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน

ปัจจัยทางด้านจิตใจ
    -  แนวโน้มที่จะนอนไม่หลับ คนส่วนใหญ่จะนอนไม่หลับในเวลาที่มีความเครียด บางคนมีการตอบสนองต่อความเครียด เช่น มีอาการปวดศีรษะหรือปวดท้อง
    -  ความเครียดเรื้อรัง ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ เด็กที่มีความเจ็บป่วยรุนแรง หรืองานที่ได้ผลกำไรน้อย ล้วนก่อให้เกิดปัญหาการนอนหลับ การเรียนรู้ที่จะจัดการกับความเครียดจะช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับได้
    -  โรคนอนไม่หลับปฐมภูมิ (Primary insomnia หรือ Psychophysiological insomnia) ถ้าคุณนอนหลับได้ไม่ดีในช่วงที่คุณมีความเครียด คุณอาจเป็นกังวลว่าจะไม่สามารถทำงาน ในช่วงกลางวันได้ คุณจึงคิดว่าต้องพยายามอย่างมากให้ตัวเองนอนหลับในเวลากลางคืน ซึ่งมันจะยิ่งทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น หลังจากนั้นไม่กี่คืน เมื่อใกล้เวลาเข้านอนคุณจะยิ่งกังวล เกี่ยวกับการนอนมากขึ้น การรักษาจะต้องมีทั้งไม่เรียนรู้ที่จะครุ่นคิดถึงการนอนหลับที่ไม่ดี และเรียนรู้พร้อมปรับลักษณะนิสัยการนอนหลับใหม่

การใช้ชีวิตประจำวัน
    -  สารกระตุ้น เช่น คาเฟอีนจากเครื่องดื่มชา กาแฟ สารนิโคตินจากบุหรี่ ยาหลายชนิดที่มีสารกระตุ้น รวมถึงยาลดน้ำหนัก ยาแก้แพ้ และยาแก้หอบหืด ยาลดน้ำมูกบางชนิด
    -  แอลกอฮอลล์
    -  ชั่วโมงทำงาน ถ้าคุณทำงานเป็นกะ มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
    -  การออกกำลังกายน้อยกว่า 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
    -  ยานอนหลับควรใช้ตามคำสั่งแพทย์ ยานอนหลับบางชนิดจะหมดฤทธิ์ยาหลังจากไม่กี่สัปดาห์  ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาทุกคืน หากหยุดยาทันที อาการการนอนหลับจะแย่ลงชั่วคราว

ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม (Environment Factors)
    -  เสียงรบกวน ทำห้องนอนให้เงียบที่สุดเพื่อไม่ให้รบกวนการนอน
    -  แสงสว่าง ใช้ผ้าม่านบังแสงหรือสีเข้มเพื่อทำให้ห้องนอนของคุณไม่สว่างจนเกินไป

ความเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ (Physical/Psychiatric Illness)
    -  ปัญหาทางด้านจิตใจ (Psychiatric problems) โรคนอนไม่หลับชนิดหนึ่ง การตื่นนอนเร็วกว่าปกติ (Early morning awakening) เป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
    -  โรคการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับ (Sleep Related Breathing Disorders) เช่น ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นจะตื่นขึ้นมาหลายครั้งหรืออาจเป็นหลายร้อยครั้ง ในหนึ่งคืน
    -  ความผิดปกติของขากระตุกเป็นช่วงๆขณะหลับ (Periodic Limb Movements)
    -  โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux)
การรักษาโรคนอนไม่หลับต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างตัวผู้ป่วยเองและแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ ผลกระทบและการรักษา ผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคทางกายหรือโรคทางจิตใจที่เป็นสาเหตุของ โรคไม่นอนหลับ และผู้ป่วยหลายรายที่เป็นโรคนอนไม่หลับโดยมีสาเหตุหลักที่เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน

เมื่อไรที่ควรขอความช่วยเหลือ ?
    หากการนอนหลับของคุณถูกรบกวนมานานกว่า 1 เดือน ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และการทำงาน ในเวลากลางวัน ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพือหาสาเหตุของโรคนอนไม่หลับได้

สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
ศูนย์นิทราเวช อาคารผู้ป่วยในพิเศษ 14 ชั้น ชั้น 5
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โทรศัพท์  02 649 403
หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.sleepcenterchula.org
และเฟสบุ๊ก https://www.facebook.com/sleepcenterchula/