
อาจารย์หมอสุรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง ได้โพสต์ให้ความรู้ เกี่ยวกับโรคซึมเศร้ารักษาหายไหม? โดยระบุว่า…
คำถามแบบนี้ อจ ได้ยินบ่อยมาก พอบอกไม่หาย อาการคนไข้ ก็จะซึมเศร้ายิ่งขึ้นไปอีก บอกรักษาหายก็ไม่ได้ เพราะ มันอาจกลับมาได้อีก แม้จะอาการจะหายไปนาน หรือ บางคน ไม่กลับมาเป็นอีกเลย มันเหมือนโรคไมเกรน โรคพังผืดกล้ามเนื้ออักเสบ หรือแม้กระทั่งเบาหวานที่คุมน้ำตาลได้ดี แล้วน้ำตาลไม่ขึ้นอีกเลยในชีวิต
หากจะบอกว่า การหาย แปลว่า โรคไม่กลับมาอีก โรคซึมเศร้าแบบรุนแรง (Major Depressive Disorder - MDD) ก็เหมือนจะหายได้ในหลายกรณี แม้ว่าคำว่า "หายขาด" อาจซับซ้อนเนื่องจากมีโอกาสที่โรคจะกลับมาอีก
ดังนั้น คำว่า หาย กับ หายขาด เป็นคำที่แพทย์ อาจต้องใช้ หาย คืออาการหาย หายขาดคือยังไงก็ไม่มาเป็นอีกไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
บางทีเราก็ต้องอ้างอิงหลักฐาน งานวิจัย
อัตราการหายจากโรค: การศึกษาแสดงว่า 80% ของผู้ที่มีอาการซึมเศร้าครั้งแรกจะมีอาการซ้ำอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต โดยเฉลี่ยสี่ครั้งตลอดชีวิต
อัตราการกลับมาเป็นซ้ำ: แม้จะรักษาได้ผลดี แต่มีรายงานว่า 50% ถึง 85% ของผู้ป่วยอาจมีอาการซึมเศร้ากลับมาอีกอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต
แต่ก็อาจบอกได้เป็นอีกนัยว่า ราว 15-50% ของคนไข้ ไม่กลับมาเป็นก็ได้
ดังนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อการหายและการกลับมาเป็นซ้ำจึงสำคัญ
การรักษาที่รวดเร็วและเหมาะสม: การรักษาที่ทันท่วงทีและเหมาะสมเพิ่มโอกาสในอาการหายจากโรค
การรักษาต่อเนื่อง: การรักษาต่อเนื่องหลังจากหายจากโรคลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นซ้ำ
ความแตกต่างระหว่างบุคคล: ปัจจัยเช่น ความรุนแรงของอาการครั้งแรก การมีโรคร่วม และประวัติส่วนบุคคลสามารถส่งผลต่อผลลัพธ์ของการรักษา
การรักษาในปัจจุบันมีหลายวิธี ยาใหม่ ๆ ผลข้างเคียงต่ำมาก การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า ก็มีการแพร่หลายและได้ผลต่อคนไข้ที่ดื้อยา หรือแม้แต่ใช้ในครั้ง แรก ๆ หรือ ร่วมกับยาก็ตาม และยังใช้กระตุ้น เมื่อการดี ไม่ให้มาเป็นซ้ำได้
โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวช (psychiatric disorder) แต่ไม่ใช่โรคจิต (psychosis)”
โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่ม "ความผิดปกติทางอารมณ์" (Mood Disorders) ซึ่งส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยทั่วไปผู้ป่วยจะรู้สึกเศร้า หดหู่ สิ้นหวัง หรือสูญเสียความสนใจในสิ่งที่เคยชอบอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หรือมีความคิดทำร้ายตัวเอง อย่างไรก็ตาม
โรคซึมเศร้าไม่ใช่ "โรคจิต" (Psychosis) เพราะผู้ป่วยยังคงรับรู้ความเป็นจริง (Reality) ได้ดี ไม่สูญเสียการติดต่อกับโลกภายนอก และไม่มีอาการหลงผิด (Delusions) หรือประสาทหลอน (Hallucinations) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของโรคจิต
โรคจิต เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) หรืออาการทางจิตบางประเภท จะมีความแตกต่างสำคัญคือ ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการแยกแยะระหว่างสิ่งที่เป็นจริงและไม่จริง เช่น ได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริง (Auditory Hallucinations) หรือเชื่อในสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล (เช่น ถูกตามล่าโดยไม่มีหลักฐาน) ซึ่งในโรคซึมเศร้า อาการเหล่านี้จะไม่ปรากฏ เว้นแต่จะเป็นกรณีพิเศษที่เรียกว่า "โรคซึมเศร้าพร้อมอาการโรคจิต" (Psychotic Depression) ซึ่งพบได้น้อยและเป็นข้อยกเว้น
เอาใจช่วยในการอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงอันโหดร้าย แต่เราก็ต้องรับให้ได้และแข็งแกร่งไปกับมัน
อจ สุรัตน์
สาระสมองกับ-อจหมอสุรัตน์