ประโยชน์ของวิตามินดีเสริม ลดความเสี่ยงของโรค Autoimmune

16 มี.ค 2565 10:56:00จำนวนผู้เข้าชม : 687 ครั้ง

มีหลักฐานชิ้นแรกโดยตรงที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการให้วิตามินดีเสริมเป็นประจำทุกวัน (daily vitamin D supplementation) ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (autoimmune diseases) ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปลงได้ถึง 22%
          หลักฐานดังกล่าวมีที่มาจากผลลัพธ์ของการศึกษาขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า VITAL (VITamin D and OmegA-3 TriaL) ซึ่งได้รับการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของวารสาร BMJ (British Medical Journal) เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 โดย VITAL เป็นการศึกษาแบบ nationwide, randomized, double blind, placebo controlled trial ที่ดำเนินการโดย Jill Hahn (นักศึกษาแพทย์ระดับปริญญาเอกของวิทยาลัยสาธารณสุข Harvard T.H. Chan School of Public Health มหาวิทยาลัย Harvard ในนคร Boston มลรัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา) และคณะ ใน Brigham and Women’s Hospital (Harvard Medical School ในนคร Boston มลรัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา)
          คณะผู้วิจัยคัดเลือกอาสาสมัครจำนวนทั้งสิ้น 25,871 คน เข้าร่วมในการศึกษานี้ โดยเมื่อเริ่มต้นการศึกษา 51% ของผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้หญิง อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ส่วนที่เหลือเป็นผู้ชาย อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป อาสาสมัครทุกคนไม่มีประวัติป่วยเป็นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไตเรื้อรังหรือได้รับการฟอกเลือด หรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ ขณะเดียวกันอาสาสมัครเหล่านี้ก็มีการบริโภควิตามินดีเสริมจากทุกแหล่งรวมกัน (vitamin D supplement โดยเฉพาะ, calcium + vitamin D supplements หรือ medications with vitamin D) ไม่เกิน 800 international units (IU) ต่อวัน และไม่ได้รับ marine omega-3 fatty acids อยู่ก่อน
          หลังจากได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมในการศึกษา อาสาสมัครทั้งหมดถูกสุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับ daily vitamin D และ daily omega-3 supplements, กลุ่มที่ได้รับ daily vitamin D supplement และ daily omega-3 placebo, กลุ่มที่ได้รับ daily vitamin D placebo และ daily omega-3 supplement และกลุ่มที่ได้รับ daily vitamin D placebo และ daily omega-3 placebo โดย vitamin D supplement ที่ใช้ในการศึกษานี้อยู่ในรูป capsules ของ vitamin D3 (cholecalciferol) 2,000 IU/day ขณะที่ marine omega-3 fatty acid ที่ใช้คือผลิตภัณฑ์ Omacor fish oil (eicosapentaenoic acid [EPA] + docosahexaenoic acid [DHA]); 1 g/day) ในรูป capsules เช่นกัน ส่วน placebo capsules มีส่วนประกอบของน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันมะกอก
          เมื่อเริ่มต้นการศึกษา อาสาสมัครทุกคนต้องตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ clinical & lifestyle risk factors และการใช้ vitamin D, fish oil และ dairy supplements พร้อมกันนี้ อาสาสมัครทุกคนยังได้รับการเจาะเลือดเพื่อประเมินระดับ vitamin D (25-hydroxyvitamin D) และ plasma omega 3 index (eicosapentaenoic acid + docosahexaenoic acid; % of total fatty acids) หลังจากนั้นในอีก 6 เดือน และที่ 1 ปี อาสาสมัครทุกคนก็จะได้รับการเจาะเลือดเพื่อประเมินระดับ vitamin D และ plasma omega 3 index อีก ขณะเดียวกันอาสาสมัครทุกคนก็ต้องตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความสม่ำเสมอหรือความต่อเนื่องในการใช้ supplements ต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษานี้, โรคใหม่ ๆ ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์, ผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการได้รับ supplements ต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษานี้ รวมถึงโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นใหม่ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด หลังจากนั้นในทุก 1 ปี อาสาสมัครทุกคนจะได้รับการเจาะเลือดเพื่อประเมินระดับ vitamin D และ plasma omega 3 index ควบคู่ไปกับการตอบแบบสอบถามดังที่ได้กล่าวมา โดยเฉพาะในส่วนของแบบสอบถามเกี่ยวกับโรคใหม่ ๆ ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์นั้น รวมถึง autoimmune disease ได้แก่ rheumatoid arthritis, polymyalgia rheumatica, autoimmune thyroid disease, psoriasis และ inflammatory bowel disease

          จากการติดตามอาสาสมัครที่เข้าร่วมในการศึกษานี้เป็นเวลาเฉลี่ย 5.3 ปี พบว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่ถึงประมาณ 81% มีการใช้ supplements ต่าง ๆ ตามที่คณะผู้วิจัยกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดและอย่างต่อเนื่อง และผลการเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการของอาสาสมัครที่ 1 ปี กลุ่มอาสาสมัครที่ถูกสุ่มให้ได้รับ vitamin D supplement มีระดับ 25-hydroxyvitamin D เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 40% (จาก 29.8 ng/mL เมื่อเริ่มการศึกษา ขึ้นไปเป็น 41.8 ng/mL ที่ 1 ปีของการศึกษา) และมีการเปลี่ยนแปลงของระดับ 25-hydroxyvitamin D น้อยมากในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับ placebo capsules ขณะเดียวกันพบว่าในกลุ่มอาสาสมัครที่ถูกสุ่มให้ได้รับ daily omega-3 supplements มีระดับ plasma omega 3 index เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 54.7% แต่ในกลุ่มอาสาสมัครที่ถูกสุ่มให้ได้รับ placebo capsules มีการเพิ่มขึ้นของระดับ plasma omega 3 index น้อยมาก
          ที่สำคัญพบว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับ vitamin D supplement มีการเกิด autoimmune disease ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ในอาสาสมัคร 123 คน เทียบกับที่เกิดขึ้นใน 155 คน ในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับ placebo capsules (hazard ratio 0.78, 95% confidence interval 0.61 to 0.99, p=0.05) ขณะที่ในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับ omega 3 fatty acid supplement พบว่ามีการเกิด autoimmune disease ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ในอาสาสมัคร 130 คน เทียบกับที่เกิดขึ้นใน 148 คน ในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับ placebo capsules (hazard ratio 0.85, 95% confidence interval .67 to 1.08, p=0.19)
          โดยเมื่อเทียบกับ reference arm (กลุ่มอาสาสมัครที่ถูกสุ่มให้ได้รับ daily vitamin D placebo และ omega 3 fatty acid placebo ซึ่งมี confirmed autoimmune disease ในอาสาสมัคร 88 คน) พบว่ามีอาสาสมัคร 63 คน ในกลุ่มที่ได้รับ daily vitamin D & daily omega 3 fatty acid supplements ที่มี confirmed autoimmune disease (hazard ratio 0.69, 95% confidence interval 0.49 to 0.96), มีอาสาสมัคร 60 คน ในกลุ่มที่ได้รับเฉพาะ daily vitamin D supplement ที่มี confirmed autoimmune disease (hazard ration 0.68, 95% confidence interval 0.48 to 0.94) และมีอาสาสมัคร 67 คน ในกลุ่มที่ได้รับเฉพาะ daily omega 3 fatty acid supplement ที่มี confirmed autoimmune disease (hazard ratio 0.74, 95% confidence interval 0.54 to 1.03)
          การศึกษานี้มีข้อสรุปว่า การให้ daily vitamin D supplement เป็นเวลา 5 ปี ไม่ว่าจะมีการให้ daily omega 3 fatty acid supplement ร่วมด้วยหรือไม่ก็ตาม สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือโรคภูมิแพ้ตัวเองลงได้ถึง 22% ขณะที่การให้ daily omega 3 fatty acid supplement เป็นเวลา 5 ปี ไม่ว่าจะมีการให้ daily vitamin D supplement ร่วมด้วยหรือไม่ก็ตาม สามารถลดความเสี่ยงของการเกิด autoimmune disease ลงได้ 15%

          อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาของ VITAL study ในส่วนของ invasive cancer เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก พบว่าการให้ high-dose vitamin D supplementation ในการศึกษานี้ (vitamin D3 หรือ cholecalciferol 2,000 IU/day) ไม่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิด invasive cancer ได้ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับ placebo (hazard ratio 0.96, 95% confidence interval 0.88 to 1.06) ขณะเดียวกันพบว่าการให้ high-dose vitamin D supplementation ในการศึกษานี้ ไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับ placebo ในการลดความเสี่ยงของการเกิด major cardiovascular (CV) events เช่น myocardial infarction, stroke หรือ CV death (hazard ratio 0.97, 95% confidence interval 0.85 to 1.12)
          ศ.พญ.JoAnn Manson ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะนักวิจัยของ VITAL study กล่าวว่า ทั้ง vitamin D และ omega-3 fatty acids จากปลาทะเล ต่างก็มีคุณสมบัติที่เป็น immunomodulatory และ anti-inflammatory properties ดังนั้น ผลการศึกษาของ VITAL study ที่พบว่าการให้ vitamin D supplement ไม่ว่าจะมี omega-3 fatty acids ร่วมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม สามารถลดความเสี่ยงของการเกิด autoimmune disease นั้น จึงเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้และสมควรได้รับการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประโยชน์ของ vitamin D supplement ในเรื่องนี้ ผลการศึกษาของ VITAL study เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มี preventive therapies ใด ๆ ที่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิด autoimmune disease ซึ่งเป็น serious health conditions
          อนึ่ง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดีกับความเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนที่มีสาเหตุจากภูมิคุ้มกันต้านตัวเอง หรือ autoimmune hypothyroidism มีการศึกษาที่น่าสนใจเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเป็นการศึกษาของ Sandeep Appunni และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMC Endocrine Disorders ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยเป็นการศึกษาที่วิเคราะห์ข้อมูลของผู้ที่เข้าร่วมอยู่ใน National Health and Nutrition Examination Survey (NHANES) ระหว่างปี 2007-2012 จำนวนทั้งสิ้นถึงประมาณ 7,900 คน อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป (อายุเฉลี่ย 47 ปี และประมาณ 52% เป็นผู้หญิง) ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ที่มีภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนอยู่ทั้งสิ้น 614 คน หรือ 7.7%
          ในการศึกษาของ Sandeep Appunni และคณะ ข้อมูลของผู้ที่เข้าร่วมอยู่ใน NHANES ระหว่างปี 2007-2012 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับระดับ serum 25-hydroxyvitamin D levels ได้แก่ กลุ่มที่มีภาวะขาดหรือพร่องวิตามินดี (มีระดับ serum 25-hydroxyvitamin D น้อยกว่า 20 ng/mL), กลุ่มที่มีระดับวิตามินดีปานกลาง (มีระดับ serum 25-hydroxyvitamin D ระหว่าง 20 ng/mL ถึง 30 ng/mL) และกลุ่มที่มี optimal vitamin D (มีระดับ serum 25-hydroxyvitamin D เท่ากับหรือมากกว่า 30 mg/mL ขึ้นไป)    
          ผลการศึกษาพบว่า เกือบ 26% ของผู้ที่มีภาวะขาดหรือพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน มีภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดีอย่างชัดเจน คือ มีระดับ serum 25-hydroxyvitamin D น้อยกว่า 20 ng/mL เทียบกับราว ๆ 21% ของกลุ่มผู้ที่มี optimal vitamin D คือ มีระดับ serum 25-hydroxyvitamin D เท่ากับหรือมากกว่า 30 ng/mL ขึ้นไป
          ดังนั้น การศึกษาของ Sandeep Appunni และคณะ จึงมีข้อสรุปว่า การมีระดับวิตามินดีต่ำหรือการมีภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะพร่องหรือขาดไทรอยด์ฮอร์โมน การคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงสูงของภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดี จะมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะพร่องหรือขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในระยะยาวได้   

แหล่งที่มาของข้อมูล: https://news.harvard.edu, www.brighamandwomens.org, www.newscientist.com, www.medscape.com, www.bmj.com, www.lupus.org, www.vitalstudy.org, https://bmcendocrdisord.biomedcentral.com