สนใจทำการตลาดผ่านสื่อและบริการของเราติดต่อ 0926516944 , 02 4243434, 02 434 3434
นักวิจัยจาก King's College London สร้างหุ่นยนต์ระบบใหม่ที่ช่วยให้การรักษาโรคจอตาเสื่อมชนิดเปียกในผู้สูงอายุมีคุณภาพมากขึ้น โดยฉายแสงเพียงครั้งเดียวและลดปริมาณการฉีดยาเข้าวุ้นตา
อุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยหุ่นยนต์รุ่นล่าสุดของ King’s College London ใช้สำหรับการรักษาอาการจุดรับภาพชัดจอตาเสื่อม หรือโรคจอตาเสื่อมชนิดเปียก (wet neovascular age-related macular degeneration-AMD) โดยฉายรังสีเพียงครั้งเดียว ซึ่งความสำเร็จในการทดลองใช้หุ่นยนต์นี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารThe Lancet ทีมวิจัยรายงานว่าการรักษา wet AMD ชนิดเปียกรูปแบบใหม่นี้สามารถกำหนดเป้าหมายได้ดีกว่าวิธีการรักษาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพราะเป็นการยิงลำแสงที่มีความเข้มข้นสูง 3 ลำ เข้าไปในดวงตาของผู้ป่วย wet AMD ชนิดเปียก ทำให้การบำบัดด้วยการฉีดยาเข้าวุ้นตาลดปริมาณลง
ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรค wet AMD ประมาณ 196 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าครึ่งหนึ่งภายในปี ค.ศ.2035 เนื่องจากทั่วโลกมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น ปกติแล้วผู้ป่วย wet AMD จะได้รับคำแนะนำให้รักษาด้วยการฉีดเข้าตาเป็นประจำ เพื่อชะลอการเสื่อมของจอประสาทตา โดยในระยะเริ่มแรกการมองเห็นของผู้ป่วยจะดีขึ้นมาก แต่เนื่องจากการฉีดไม่สามารถรักษาโรคได้ ในที่สุดของเหลวก็จะเริ่มสะสมอีกครั้งในจุดภาพชัดและผู้ป่วยจะต้องฉีดซ้ำในระยะยาว คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องฉีดยาทุกๆ 1-3 เดือนซึ่งรวมแล้วทั่วโลกประมาณ 1.8 ล้านครั้งต่อปี ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการฉีดแต่ละครั้งสูงมากทีมวิจัยของ King’s College London จึงหวังว่าอุปกรณ์หุ่นยนต์รักษา wet AMD ตัวล่าสุดนี้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการฉีดยาเข้าตาไปได้อย่างมหาศาล
ข้อมูล :https://medicalxpress.com/news/2024-06-robot-radiotherapy-treatments-eye-disease.html