รู้จัก ภาวะออกรวน

ภาวะอกรวน เป็นการบาดเจ็บต่อผนังทรวงอกที่พบบ่อย โดยมีกระดูกซี่โครงหักติดต่อกัน ตั้งแต่ 3 ซี่ขึ้นไป และแต่ละซี่ หักมากกว่า 2 ตำแหน่ง การหักนี้อาจหักข้างเดียว หรือทั้งสองข้างของทรวงอก ทำให้มีส่วนที่แยกออกจากผนังทรวงอก เรียกว่า ส่วนลอย (floating segment) ส่งผลให้ผนังทรวงอกเสียรูปทรง เสียความมั่นคงแข็งแรง การเคลื่อนไหวของทรวงอกผิดปกติ (paradoxical chest movement) กลไกการขยายตัวของปอดมีความผิดปกติ มีผลให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดลดลง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง


ภาวะอกรวนเกิดจาก
ภาวะอกรวน สาเหตุเกิดจากการบาดเจ็บที่รุนแรง พบมากในเพศชายที่ขับขี่รถขณะมึนเมา มีการกระแทกที่หน้าอกโดยตรง ส่วนในผู้สุูงอายุ สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามอายุที่มากขึ้น คือ มีการจับตัวของแคลเซียมที่กระดูกอ่อนของซี่โครงและบริเวณเชื่อมต่อกระดูกส่วนอก (chrondosternal articulation) ทำให้ทรวงอกติดแข็ง และขาดความยืดหยุ่น ร่วมกับภาวะกระดูกพรุน การพลัดตกจากที่สูง นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะอกรวนได้มาก


ทั้งนี้ ใน “ภาวะอกรวน” มีการเปลี่ยนแปลงของผนังทรวงอก และการหักของซี่โครง ทำให้ผนังทรวงอกเคลื่อนไหวตรงกันข้ามกับที่ควรจะเป็นระหว่างการหายใจ เรียกว่า paradoxical movement ทําให้ประสิทธิภาพของปอดในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงจึงทําให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนได้


อาการ “ภาวะอกรวน”
กดเจ็บ คลำได้กระดูกกรอบแกรบบริเวณที่หัก ทรวงอกผิดรูป เจ็บหน้าอกรุนแรง หายใจเร็ว หายใจไม่เต็มที่ (เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ) หายใจลำบาก paradoxical respiration (การหายใจที่ผิดปกติ คือ ขณะหายใจออกผนังทรวงอกข้างที่ปกติจะยุบลงแต่ผนังทรวงอกที่ได้รับภยันตรายกลับจะโป่งพองขึ้น ) มีภาวะขาดออกซิเจน พบ seatbelt sign (seatbelt sign คือ การปรากฏรอยช้ำที่เกิดจากการมีเลือดออกใต้ชั้นผิวหนัง (contusion) รอยแดงบนผิวหนัง (erythema) หรือรอยถลอก (abrasion) ตามแนวพาดของเข็มขัดนิรภัย ที่ปรากฏบริเวณคอ หน้าอก หน้าท้องของผู้ป่วย