Glioblastoma หรือ GBM ซึ่งเป็นเนื้องอกก่อมะเร็งสมองที่อันตรายมาก อาจจะถูกทำลายได้เร็วและง่ายขึ้นด้วยวิธีบำบัดรูปแบบใหม่ที่อาศัย CAR T-cells ในการค้นหา pathway ของเซลล์มะเร็ง GBM จากรายงานการทดลองล่าสุดของทีมวิจัยร่วมจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.2024 วารสาร Nature Medicine เผยแพร่ผลการทดลองขั้นพรีคลินิกของทีมวิจัยร่วมที่มี Singh Lab ของมหาวิทยาลัย McMaster เป็นแกนหลัก ซึ่งถือเป็นความหวังของการรักษามะเร็งสมองชนิดต่าง ๆ รวมทั้ง Glioblastoma ที่เป็นมะเร็งสมองชนิดร้ายแรงที่สุด ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้มีทางเลือกเพียงการผ่าตัด การฉายรังสี และเคมีบำบัด แต่เนื้องอกมักกลับมาอีกเสมอ และการรอดชีวิตของผู้ป่วยมีเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น
Sheila Singh หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า “เซลล์เนื้องอก glioblastoma จะแย่งเส้นทางการส่งสัญญาณเพื่อใช้บุกรุกและแทรกซึมเข้าไปในสมอง พวกเขาจึงต้องค้นหา pathway ของเซลล์มะเร็งเหล่านั้นเพื่อสกัดกั้นและทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง โดยใช้หลายวิธีมาผสมผสานกัน ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อยีน การใช้ยาตัวหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดย John Lazo จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย รวมไปถึงการใช้ CAR T-cells ที่พัฒนาขึ้นโดย Kevin Henry และ Martin Rossotti จากสถาบันวิจัยแห่งชาติแคนาดา พวกเขาใช้ Roundabout Guidance Receptor 1 (ROBO1) ในการช่วยนำทางเซลล์คล้ายกับ GPS เพื่อค้นหา pathway ที่เป็นเป้าหมายการจู่โจมเซลล์มะเร็ง GBM ในภายหลัง
ภาพประกอบและข้อมูล : https://scitechdaily.com/brain-cancer-breakthrough-new-therapy-destroys-glioblastoma-in-recently-unveiled-pathway/